Bounce Rate (อัตราตีกลับ) กับ % Exits (% การออก) เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะงงกับคำศัพท์สองคำนี้ใน Google Analytics และพอเราคลิกไปที่เครื่องหมาย ? ที่เป็นลิงค์ที่อธิบายความหมายของคำศัพท์ ก็จะงงหนักเข้าไปอีก เพราะ Google Analytics
- อัตราตีกลับ - เปอร์เซ็นต์ของการเข้าชมหน้าเดียวที่เป็นผลมาจากชุดของหน้าเว็บหลายหน้าหรือหน้าเว็บเดียวนี้
- % การออก - เปอร์เซ็นต์ของการออกจากไซต์ที่เกิดจากชุดของหน้าเว็บหลายหน้าหรือหน้าเว็บเดียวนี้
(สำหรับคนที่คล่องภาษาอังกฤษหน่อย แนะนำว่าใช้งาน Google Analytics ในโหมดภาษาอังกฤษจะเข้าใจอะไรๆ ได้ง่ายกว่า)
Bounce Rate (อัตราตีกลับ) คือ ตัวเลขที่บ่งบอกเปอร์เซ็นของคนที่เข้าเว็บหน้านั้นๆ แล้วออกไปเลยทันที โดยไม่มีการคลิกลิงค์ต่อไปยังหน้าใดๆ ย้ำว่า เป็นการเข้ามายังหน้านี้ “เป็นหน้าแรก” และ “หน้าสุดท้าย” ไม่มีการเข้าหน้าไหนมาก่อนหน้านี้ และไม่มีการไปหน้าไหนต่อจากหน้านี้
% Exits (% การออก) คือ ตัวเลขที่บ่งบอกเปอร์เซ็นของคนที่เข้าเว็บหน้านั้นๆ เป็น “หน้าสุดท้าย” หมายความว่า ตอนเข้าเว็บไซต์อาจจะเที่ยวเล่น อ่านข้อมูลหน้าอื่นๆ มาก่อนหลายสิบหน้า แล้วมาถึงหน้านี้เป็นหน้าสุดท้าย ก่อนจะปิดหน้าต่างบราวเซอร์ไป
ลองดูตัวอย่างจากภาพด้านล่าง
จะเห็นได้ว่าผู้เข้าชม (visitor) ของอัตราตีกลับ (10 คน) นั้นเป็น subset ของผู้เข้าชม (visitor) ของ % การออก (10+20 = 30 คน) จึงไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลขผลลัพธ์ของ % การออกนั้นมักจะต่ำกว่าอัตราตีกลับเสมอ (เลขส่วนมากกว่าแต่เศษเท่ากัน)
ทีนี้มาพูดถึงเรื่องประโยชน์ของตัวเลขสองตัวนี้กันบ้าง
อัตราตีกลับ เป็นตัวเลขที่น่าสนใจที่จะบอกให้เจ้าของเว็บไซต์รู้ว่า Landing Page ของเว็บไซต์เรานั้นมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด ผมยกตัวอย่างง่ายๆ สมมุติว่าคุณทำโปรโมชั่นสินค้าของเล่นเด็กลดราคาพิเศษผ่านทางโฆษณาอย่าง Adwords พอมีกลุ่มเป้าหมายได้เห็นโฆษณาของคุณทาง Adwords เกิดความสนใจเลยคลิกลิงค์เข้ามา (หน้าที่ลิงค์จาก Adwords นี่แหละครับ ที่เราเรียกกันว่า Landing Page)
ทีนี้หลังจากเรายิงโปรโมชั่นไปสามวัน พอเข้าระบบ Google Analytics เพื่อไปดูหน้าโปรโมชั่นดังกล่าว ปรากฏว่าอัตราตีกลับสูงถึง 80% เห็นแบบนี้ตีความได้ว่า กลุ่มเป้าหมายที่ลิงค์มาจาก Adwords แทบจะไม่มีใครสนใจในโปรโมชั่นเลย (เหมือนเราเอาเงินเทให้ Google Adwords เล่นๆ)
ทีนี้วิธีแก้ไขก็เป็นเรื่องของการตรวจสอบความเกี่ยวโยงของเนื้อหาระหว่าง Ads กับ Landing Page ว่ามันสอดคล้องกันหรือไม่ ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากน้อยแค่ไหน จับกลุ่มเป้าหมายผิดหรือเปล่า สร้างความคาดหวังจาก Ads ใน Adwords มากเกินไปไหม ฯลฯ
ส่วน % การออก บ่งบอกถึงคุณภาพของการเชื่อมต่อเนื้อหาภายในเว็บไซต์ หาก % การออกเกิดสูงในหน้าเว็บหลักๆ ที่มีการเชื่อมโยงต่อไปยังส่วนอื่นๆ (เช่น หน้าแรก, หน้าแคตตาล็อกสินค้า) เราจะต้องเริ่มมาพิจารณาว่า ทำไม คนจึงออกจากเว็บไซต์ แทนที่จะคลิกไปดูรายละเอียดในหน้าอื่นๆ เราอาจจะต้องมีการทำการทดสอบ (Experiment) โครงสร้างเนื้อหาของหน้านั้นๆ ด้วย Google Website Optimizer กันเพื่อดูพฤติกรรมผู้บริโภคที่แท้จริงต่อไป
ที่มา : niran
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น