PayPal คืออะไร?
PayPal เป็นบริษัทของ e-bay และเป็นผู้นำด้านระบบการชำระเงินออนไลน์ระดับโลก ซึ่งมีบัญชีเปิดใช้งานประมาณ 70 ล้านบัญชีทั่วโลก1 ด้วยปริมาณการชำระเงินรวมทั้งหมด 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.2 ล้านล้านบาท) ในปี 2008 ซึ่งคิดเป็น 9% ของมูลค่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก และ 15% ของมูลค่าการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐอเมริกา
PayPal ทำงานอย่างไร?
PayPal เป็นระบบการชำระเงินออนไลน์ครบวงจรที่ช่วยให้บุคคลหรือหน่วยงานธุรกิจใดๆ ที่มีที่อยู่อีเมล์สามารถรับส่งเงินได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต PayPal ช่วยให้ผู้ที่ทำการค้าเสนอทางเลือกในการชำระเงินให้กับผู้ซื้อสินค้าได้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรเดบิต การโอนเงินผ่านธนาคารชั้นนำ และอีกมากมาย
ทำไมต้องใช้ PayPal?
ขยายฐานลูกค้าของคุณ – จูงใจลูกค้าของคุณด้วยบัญชีของPayPalกว่า 70 ล้านบัญชีที่ทำการซื้อขายในตลาด 190 แห่ง และ 18 สกุลเงินทั่วโลก
เพิ่มยอดขาย – ผู้ดำเนินธุรกิจจะมียอดขายโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 14% เมื่อเพิ่มทางเลือกการชำระเงินด้วย PayPal (ข้อมูลอ้างอิงจากการสอบถามทางโทรศัพท์ของ PayPal ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2006 โดยสัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่มียอดขายต่อปีอย่างต่ำ 120,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี)
ปลอดภัย – ผู้ซื้อเลือกชำระเงินโดยใช้ PayPal เนื่องจากพวกเขาต้องการซื้อสินค้าออนไลน์โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลทางการเงินกับผู้ขายสินค้า นอกจากนี้ คุณไม่ต้องกังวลใจกับการบันทึกข้อมูลทางการเงินของผู้ซื้อที่มีความละเอียดอ่อนอีกด้วย
รวดเร็ว – รับการชำระเงินทันทีจากผู้ซื้อหลากหลายที่ชำระเงินด้วยสกุลเงินที่แตกต่างกัน
ง่าย – ผู้ซื้อจะมีทางเลือกชำระเงินหลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรเดบิต การโอนเงินผ่านธนาคาร และอีกมากมาย พร้อมการจัดการและติดตามการดำเนินธุรกรรมด้วยสกุลเงินที่หลากหลายได้อย่างง่ายดาย
คุ้มค่า – ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือค่าธรรมเนียมรายเดือน คุณชำระเงินเฉพาะเมื่อขายสินค้าได้เท่านั้น ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมมีมูลค่า 3.9% ถึง 2.9% ของยอดขาย + ค่าธรรมเนียมตายตัวเล็กน้อย (มูลค่าแตกต่างกันไปตามสกุลเงิน)
ค่าธรรมเนียมของ PayPal เป็นอย่างไร?
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการของ PayPal ย่อมเยา เหมาะสมกับธุรกิจทุกขนาด ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือรายเดือน คุณชำระเงินเฉพาะเมื่อได้รับเงินในบัญชี PayPal เท่านั้น ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมมีมูลค่า 3.9% ถึง 2.9% ของยอดขาย + ค่าธรรมเนียมตายตัวเล็กน้อย (มูลค่าแตกต่างกันไปตามสกุลเงิน) ไปที่ www.paypal.com และคลิกที่ลิงค์ “ค่าธรรมเนียม” ที่ด้านล่างของหน้าเว็บ
นอกจากนี้ ถ้าการทำธุรกรรมของคุณจำเป็นต้องแปลงสกุลเงิน PayPalสามารถแปลงสกุลเงินด้วยด้วยอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับการค้าปลีก ซึ่งปรับเปลี่ยนเป็นประจำตามสภาพตลาด อัตราแลกเปลี่ยนนี้รวมค่าธรรมเนียมการจัดการ 2.5% ซึ่งค่าธรรมเนียมนี้ควบคุมโดยPayPal อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินสำหรับการทำธุรกรรมกับสกุลเงินอื่นนั้นจะปรากฏขึ้นขณะทำธุรกรรม
ฉันจะเริ่มใช้งานได้อย่างไร?
ลงทะเบียนรับบัญชีPayPal คุณสามารถลงทะเบียนได้ภายในเวลาไม่กี่นาทีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ไปที่ www.paypal.com และคลิก “ลงทะเบียน” เลือกประเทศของคุณจากเมนูแบบดรอปดาวน์และเลือกบัญชีแบบ "ธุรกิจ"
ป้อนข้อมูลบัญชีของคุณและจากนั้นทำการเชื่อมโยงและยืนยันข้อมูลบัตรเครดิตของคุณ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและเพิ่มวงเงินที่สามารถถอนได้จากบัญชีของคุณ
ยืนยันที่อยู่อีเมล์ของคุณเพื่อเปิดใช้งานบัญชี
ฉันจะรู้ได้อย่างไรเมื่อได้รับเงิน?
PayPal จะแจ้งคุณทางอีเมล์ หรือคุณสามารถเข้าสู่บัญชีเพย์พาลและไปที่หน้า "ประวัติข้อมูล" ได้
ฉันจะถอนเงินจากPayPalได้อย่างไร?
คุณสามารถถอนเงินจากบัญชีPayPalไปยังบัญชีธนาคารของคุณได้โดยตรง:
เข้าสู่บัญชีPayPalของคุณ
คลิกที่Tapย่อย “ถอนเงิน” ของหน้า “บัญชีของฉัน”
คลิกที่ลิงค์ “ถอนเงินไปยังบัญชีธนาคารของคุณ” และป้อนจำนวนเงิน
หมายเหตุ: คุณจะต้องเพิ่มบัญชีธนาคารเข้าไปในบัญชีPayPalก่อนจึงจะสามารถถอนเงินได้
เข้าสู่บัญชีPayPalของคุณ
ไปที่ "Profile" ของคุณ
คลิกที่ “เพิ่ม/แก้ไขบัญชีธนาคาร” จากเมนูแบบดรอปดาวน์
เติมข้อมูลบัญชีธนาคารของคุณ ให้เหมือนกับที่ปรากฏบนใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร
จากนั้นตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูล
คลิกที่ "เพิ่มบัญชีธนาคาร"
ข้อมูลสำคัญ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชื่อบนบัญชีของPayPalนั้นตรงกับชื่อบัญชีธนาคารของคุณ มิฉะนั้นเงินจะถูกส่งกลับและคุณจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเล็กน้อยในการส่งเงินกลับ
มีค่าธรรมเนียมอื่นๆ ในการถอนเงินจากบัญชีPayPalอีกหรือไม่?
ถอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร:
ถอนเงินฟรีหากจำนวนเงิน 5,000 บาทขึ้นไป
ค่าธรรมเนียม 50 บาทหากถอนเงินน้อยกว่า 5,000 บาท
โปรดทราบว่าธนาคารบางแห่งอาจคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในการโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ PayPalไม่สามารถรับประกันได้ว่าคุณจะไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่ธนาคารของคุณ โปรดสอบถามข้อมูลการคิดค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กับทางธนาคารก่อนถอนเงิน
เงินที่ถอนออกมาจะปรากฏบนบัญชีธนาคารของฉันเมื่อไร?
โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน
PayPalให้ความคุ้มครองผู้ขายสินค้าอย่างไรบ้าง?
PayPalให้ทางเลือกมากมายเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ป้องกันการฉ้อโกง และปกป้องการดำเนินธุรกรรม ช่วยให้โอกาสเกิดข้อพิพาท การร้องเรียน และการคืนเงินลดน้อยลง
PayPalใช้เทคโนโลยีป้องกันการฉ้อโกงที่ทันสมัยและยอดเยี่ยมที่สุดในวงการ นอกจากนี้ ยังใช้โมเดลความเสี่ยงเพื่อช่วยคาดการณ์กิจกรรมการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ PayPalยังมีเจ้าหน้าที่ป้องกันการฉ้อกงกว่า 2000 คนทำงานตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยในการดำเนินธุรกรรมของคุณ เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวและป้องกันการฉ้อโกง PayPalมีระบบการยืนยันที่มั่นคงและจะไม่เปิดเผยข้อมูลทางการเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย นอกจากนี้ PayPalจะสืบสวนเรื่องร้องเรียนที่ส่งเข้ามาในกรณีที่เกิดปัญหากับผู้ขายสินค้า พร้อมอำนวยความสะดวกในกระบวนการยุติข้อพิพาทระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
PayPalยังให้คำแนะนำและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อช่วยให้ผู้ใช้เรียนรู้วิธีป้องกันตนเองโดยทำความเข้าใจกับความเสี่ยงต่างๆ พร้อมรู้วิธีรับมือ
คุณสามารถรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยเยี่ยมชมศูนย์รักษาความปลอดภัยของPayPalเพื่อรับทราบเคล็ดลับในการพัฒนาธุรกิจของคุณอย่างปลอดภัย ไปที่ www.paypal.com และคลิกที่ลิงค์ “ศูนย์รักษาความปลอดภัย” ที่ด้านบนของหน้าเว็บ
มีสินค้าที่ห้ามขายด้วยPayPalหรือไม่?
มี โปรดตรวจสอบ นโยบายการใช้งานที่เหมาะสม บนไซต์ของPayPalโดยคลิกที่ลิงค์ “ข้อตกลงผู้ใช้” ที่ด้านล่างของหน้าเว็บ
PayPalได้เตรียมเครื่องมืออะไรเพื่อช่วยเหลือฉันในการดำเนินธุรกิจบ้าง?
รายงานประวัติการทำธุรกรรม: ติดตามและดาวน์โหลดข้อมูลการทำธุรกรรมของคุณได้จากจุดเดียวเพื่อการจัดการคำสั่งซื้ออย่างสะดวกและรวดเร็ว เข้าสู่บัญชีPayPalและไปที่Tap "ประวัติข้อมูล"
รายงานทางธุรกิจ: รับรายงานยอดขายรายเดือน ยอดการเงิน และรายงานการซื้อขายของแต่ละเคส เพื่อช่วยให้คุณจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลา ไปที่: https://business.paypal.com (ต้องเข้าสู่ระบบ)
การเข้าใช้งานสำหรับผู้ใช้หลายคน (บัญชีธุรกิจเท่านั้น): สร้างระดับการเข้าใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลหลากหลายรูปแบบเพื่อให้พนักงานของคุณสามารถทำงานที่จำเป็นได้ พร้อมจำกัดความสามารถในการดูหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
เขียนโดย : Tip Technology
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น